ตัวแปร [Variable]
คือ ชื่อทีกำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูล โดยหลักการตั้งชื่อก็ได้กล่าวในบทความแรกแล้วนะค่ะ รูปแบบการประกาศตัวแปร รูปแบบ ชนิดข้อมูล ตัวแปร; รูปแบบการค่าให้กับตัวแปร รูปแบบ ตัวแปร = ค่าที่ต้องการกำหนดให้; เมื่อประกาศตัวแปรขึ้นแล้วนั้นเราต้องกำหนดค่าให้กับตัวแปรเอง ซึ่งหากมีการเรียกใช้งานตัวแปรที่ยังไม่ได้ถูกกำหนดค่า เมื่อคอมไพล์ จะมีการแจ้งข้อผิดพลาดว่า "varable might not have been intialized" มาดูค่าตัวแปรที่ภาษา Java ใช้กันบ้างค่ะ
ตัวแปร | การใช้ | การแสดงผล a=5 , b=2 |
+= | a += b | a=a+b | เช่น | a=5 + 2 || a= 7 |
-= | a -= b | a=a-b | เช่น | a=5 - 2 || a= 3 |
*= | a *= b | a=a*b | เช่น | a=5 * 2 || a= 10 |
/= | a /= b | a=a/b | เช่น | a=5 / 2 || a= 2 |
%= | a %= b | a=a%b | เช่น | a=5 -%2 || a= 1 |
Character literal เป็นตัวอักษรตัวเดียว หรือจะเป็นค่า escape sequence ก็ได้ Character literal จะถูกคลุมด้วยเครื่องหมาย Single quote (' ')
escape sequence | ความหมาย |
\b | ถอยหลัง 1 ตัวอักษร [Backspace] |
\t | แถบแนวนอน [Horizontal tab] |
\n | ขึ้นบรรทัดใหม่ [New line] |
\f | ขึ้นหน้าใหม่ [Form feed] |
\r | เลื่อนเคอร์เซอร์ไปทางซ้ายสุด [Carriage return] |
\' | หมายถึงตัวอักษร ' [Single Quote] |
\" | หมายถึงตัวอักษร " [Double Quote] |
\\ | หมายถึงตัวอักษร \\ [Backslash] |
\xxx | หมายถึงตัวอักษรที่มีรหัสแอสกี [ASCII] เท่ากับค่าเลขฐาน 8 เช่น '\043' ก็จะได้# |
\uxxx | หมายถึงตัวอักษรที่มีรหัส Uncode เท่ากับเลขฐาน 16 เช่น '\u0023' ก็จะได้ # |
การแสดงผล System.out.print = เป็นการแสดงผลบรรทัดนั้นไม่มีการขึ้นบรรทัดใหม่ System.out.println = เป็นการแสดงผลบรรทัดนั้นมีการขึ้นบรรทัดใหม่ System.out.println(check); = แสดงค่าที่เก็บอยู่ที่ check เช่น check='Good'; ก็จะได้ผลลัพท์ Good System.out.println("Thaiware"); = แสดงค่า Thaiware System.out.println("Thaiware "+check); = จะแสดงค่า Thaiware Good ชนิดของข้อมูลพื้นฐาน 1. Logical ได้แก่ Boolean ค่าจะต้องเป็น true หรือ false เท่านั้น 2. Textual ได้แก่ Char 3. Integral ได้แก่ Byte , Short , Int , Long 4. Floating-Point ได้แก่ Float Double 1. Logical
class testboolean
{
public static void main(String[] args)
{
//ประกาศค่าตัวแปร//
boolean check = true;
boolean verify = false;
//แสดงผล//
System.out.println(check);
System.out.println(verify);
}
} |
ผลการ Run |
|
2. Textual
class TestCharCtring
{
public static void main(String[] args)
{
//ประกาศค่าตัวแปรต่างๆ//
char ch1 = 'a';
char ch2 = '\n';
char ch3 = '\u0002';
String str1 = "Hello My Friends";
String str2 = "";
String str3 = "A";
//ทำการแสดงผล//
System.out.println(ch1);
System.out.print(ch2);
System.out.println(ch3);
System.out.print(str1);
System.out.println(str2);
System.out.println(str3);
}
} |
ผลการ Run |
|
3. Integral ก่อนที่จะมาดูตัวอย่างเรามาทำความเข้าใจของแต่ละชนิดของข้อมูลก่อนดีกว่า
ชนิดข้อมูล | ขนาด | ค่าต่ำสุด | ค่าสูงสุด |
Byte | 8 บิต หรือ 1 ไบต์ | -27 | 27 -1 |
Shout | 16 บิต หรือ 2ไบต์ | -215 | 215 -1 |
Int | 32 บิต หรือ 4ไบต์ | -231 | 231 -1 |
Long | 64 บิต หรือ 8 ไบต์ | -263 | 263 -1 |
4. Floating-Point ก่อนที่จะมาดูตัวอย่างเรามาทำความเข้าใจของแต่ละชนิดของข้อมูลก่อนดีกว่า
ชนิดข้อมูล | ขนาด | ค่าต่ำสุด | ค่าสูงสุด |
Float | 32 บิต หรือ 4ไบต์ | -3.40282347E+38 | 3.40282347E+38 |
Double | 64 บิต หรือ 8 ไบต์ | -1.79769E+308 | 1.79769E+308 |
class TestIntegralFloating
{
public static void main(String[] args)
{
// ประกาศค่าตัวแปร //
byte a = 1;
short b = 2;
int c = 3;
// การที่มี L หรือ I ต่อท้ายไม่งั้นค่าจะถูกมองเป็น int //
long d = 4L;
// การที่มี F ต่อท้ายไม่งั้นค่าจะถูกมองเป็น Double //
float e = 5.0F;
double f = 6.0;
// แสดงผล //
System.out.println(a+" "+b+" "+c+" "+d);
System.out.println(e+" "+f);
}
} |
ผลการ Run |
|
แหล่งที่มา :: Java |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น